您现在的位置是:DailyThai > สำรวจ

【หวยฟ้าลิขิต】‘ส่อง’กระจกสังคม 67 ‘ธุรกิจขายฝัน’ ลวงอู้ฟู่‘สะท้อนไทย?’ | เดลินิวส์

DailyThai2025-01-02 03:25:17【สำรวจ】7人已围观

简介เนื้อความข้างต้นนี้เป็นบางช่วงบางตอนจากเกริ่นนำโดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ที่ระบุไว้ในบทความ “กระจกสังค หวยฟ้าลิขิต

เนื้อความข้างต้นนี้เป็นบางช่วงบางตอนจากเกริ่นนำโดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ที่ระบุไว้ในบทความ “กระจกสังคมประเทศไทย ปี 2567” ซึ่ง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดทำและเผยแพร่ผ่าน www.sac.or.th โดยเป็นมุมมองนักวิชาการ-นักวิจัย ที่มีต่อ “เหตุการณ์ สถานการณ์” รวมถึง “กระแสต่าง ๆ”

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

เพื่อ “สะท้อนภาพสังคมไทย” ในปีนี้

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ผ่านมุมมองมานุษยวิทยา สังคมวิทยา

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ในการจัดทำบทความดังกล่าว ดร.นฤพนธ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและส่งเสริมวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ระบุไว้บางช่วงบางตอน โดยสรุปมีว่า หากเปรียบกับกระจกแล้ว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นกระจกที่เป็นภาพตัวแทนกรณีต่าง ๆ เช่น กระจกบานที่เป็นภาพตัวแทน “การดิ้นรนของการโกหกหลอกลวง” กระจกบานที่เป็นภาพตัวแทน “ความยากจนที่เรื้อรังและซ่อนเร้น” กระจกบานที่เป็นภาพตัวแทน “วงจรความศรัทธาที่ล่อแหลม” กระจกบานที่เป็นภาพตัวแทน “เส้นแบ่งของการหลงรักและเกลียดชัง” หรือกระจกบานที่เป็นภาพตัวแทน “บทพิสูจน์ระบบผัวเดียวเมียเดียว” นี่เป็นตัวอย่าง “กระจก” ที่สะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศไทยปี 2567 นี้

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ทั้งนี้ ในแหล่งข้อมูลที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” นำข้อมูลมาสะท้อนต่อวันนี้ มีนักวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรที่สะท้อนมุมมอง “ธุรกิจขายฝัน” ที่ในปีนี้ เกิดกระแสอื้ออึงหลายเรื่อง มีตัวละครเกี่ยวข้องหลายวงการ มีเหยื่อและมูลค่าความเสียหายมากจนน่าตกตะลึง โดยประเด็นนี้ ปิยนันท์ จินา นักวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ฉายภาพไว้ในหัวข้อ“บอสรวยสอนลูกข่าย : การตลาดเล่าเรื่อง ธุรกิจขายฝันกับความหวังในโลกทุนนิยม” ซึ่งจะน่าสนใจ-น่าคิดเช่นไร? ลองมาดู

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ทาง ปิยนันท์ ฉายภาพไว้ว่า “ขยันผิดที่ 10 ปีก็ไม่รวย” เป็น “วลีเด็ด” ของบางเครือข่ายธุรกิจขายของออนไลน์มูลค่านับพันล้าน ที่ฉากหน้าผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่กลับเป็น ธุรกิจเครือข่ายคล้ายแชร์ลูกโซ่ในอดีต โดยทำให้มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งสิ่งที่ก็น่าสนใจคือ แล้ว ธุรกิจเหล่านี้ทำงานอย่างไร? และเหตุใดจึงยังมีคนหลงเชื่อ?โดยเรื่องนี้นักวิจัยท่านเดิมระบุไว้ว่า “คำตอบ” ส่วนหนึ่งของเรื่องนี้นั้น อาจจะอยู่ที่ “การตลาดแบบเล่าเรื่อง(Storytelling marketing)”เนื่องจาก “ธุรกิจแบบพีระมิด” นั้น ต้อง มีบุคคลต้นแบบที่พูดสร้างแรงบันดาลใจ จูงใจกลุ่มเป้าหมาย

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ขณะที่ “โครงเรื่องหลัก” ที่ธุรกิจประเภทนี้มักจะนำมาใช้นั้น หากไม่ใช่การ อวดแสดงความสำเร็จ ก็มักจะเป็นการ เชื่อมโยงประสบการณ์สู้ชีวิต กับความขาดโอกาส และความหวัง ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเมื่อบุคคลต้นแบบยิ่งเล่าเรื่องว่าเคยใช้ชีวิตแร้นแค้นเพียงใด ก็ยิ่งตอกย้ำกับผู้ฟังว่า คนที่มีต้นทุนชีวิตน้อยกว่าก็ยังประสบความสำเร็จได้ นี่เป็นตัวอย่างที่มีการสะท้อนไว้ในบทความ ที่ฉายภาพ “พลังของการตลาดเล่าเรื่อง” ที่ “ธุรกิจขายฝันนิยมนำมาใช้” จูงใจกลุ่มเป้าหมาย

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

“นอกจากการอวดแสดงความสำเร็จ และเชื่อมโยงประสบการณ์สู้ชีวิตกับผู้ฟังแล้ว ผู้เล่ามักย้ำให้เห็นว่า หากอยากประสบความสำเร็จหรืออยากรวยก็ต้องทำธุรกิจ ไม่ใช่เป็นลูกจ้าง รวมถึงล่อใจด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับหากร่วมลงทุน ที่หนีไม่พ้นเรื่องของเงินทอง สิ่งของ สิทธิพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น” เป็นภาพที่นักวิจัยท่านนี้สะท้อนไว้

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ทั้งนี้ กับ “จุดเด่น” ที่สังเกตได้ชัดของ “ธุรกิจขายฝัน” นั้น ก็มีการสะท้อนมุมมองไว้ว่า ธุรกิจแบบนี้ มักอธิบายตัวเองว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่ถูกกฎหมาย? มีการ บอกว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ได้ผลตอบแทนสูง? ซึ่งย่อมดึงดูดใจสำหรับคนที่ไม่ได้มีเงินทองมากมาย โดยการเล่าเรื่องแบบนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อกระตุ้นให้คนที่ไม่เคยลงทุนกล้าลองกล้าเสี่ยง นี่เป็นมุมวิเคราะห์น่าสนใจ กรณี “ธุรกิจขายฝัน” ที่ปี 2567 นี้ “เป็นประเด็นร้อนฉ่า!!”

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

แล้วปรากฏการณ์เรื่องนี้ ใน “มุมมานุษยวิทยา มุมสังคมวิทยา” มองเห็นอะไรจากกรณีนี้บ้าง?? กับประเด็นนี้ทาง ปิยนันท์ ระบุไว้ว่า คดี “หลอกหากินกับความหวัง” เหล่านี้ “ช่วยเผยให้สังคมไทยได้เห็นว่า ความฝันของคนไทยในโลกทุนนิยมมีหน้าตาอย่างไร?”โดยเมื่อพิจารณาจากแรงจูงใจของเหยื่อจะพบหน้าตาความฝัน ที่ มีตั้งแต่การพยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นกับดักความยากจน การไต่บันไดทางสังคม การเลื่อนระดับชนชั้น การไล่ตามความฝัน แบบทุนนิยม

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

และนอกจากนั้นก็ยัง สะท้อน “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” มากมาย อาทิ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ ที่มีความผันผวน การจ้างงานที่ยืดหยุ่น แต่ก็เสี่ยงต่อการเลิกจ้าง หรือการเป็นสังคมไร้ตาข่ายความมั่นคง ที่ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้นี่เองที่เป็นสาเหตุสำคัญ “บีบให้ผู้คนแสวงหาทางรอดผ่านการลงทุนในชีวิตกันเอง” และรวมถึงทำให้ “สังคมหันไปบูชาความสำเร็จแบบสำเร็จรูปและเร่งด่วน” เพิ่มขึ้น ด้วย ฝันว่าจะประสบความสำเร็จ จะรวยได้โดยไม่ต้องลงแรง??

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

“คดีเหล่านี้จึงไม่ใช่แค่อาชญากรรมฉ้อโกง แต่ยังเป็นภาพสะท้อนสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมด้วย ตราบใดที่เงื่อนไขเชิงโครงสร้างเป็นเช่นนี้ การเล่นกับความฝันของผู้คนก็น่าจะยังเกิดขึ้นอีกด้วยเทคนิคคล้าย ๆ เดิม” เป็นมุมวิเคราะห์โดย ปิยนันท์ นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ต่อ “ธุรกิจขายฝัน”ที่ในปี 2567 ก็อื้ออึงมาก

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

เป็นอีกส่วนของ “กระจกสะท้อนไทย”

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

โดยที่ “ภาพสะท้อนนี้อาจยังมีซ้ำ ๆ”

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ภาพ “หลอกหากินกับความหวังคน”.

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

ส่องกระจกสังคมธุรกิจขายฝันลวงอู้ฟู่สะท้อนไทยเดลินิวส์

很赞哦!(46)

相关文章